ประเภทของชาเขียว
- ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
- ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนก่อนนำมาชงดื่ม
วิธีเก็บรักษาใบชา
วิธีเก็บรักษาใบชา ควรเก็บในที่แห้ง ณ
อุณหภูมิห้อง ในภาชนะที่ปิด สนิท และปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
- บรรจุซองฟอยด์ ให้รีดลมออกให้หมด
เพื่อมิให้กลิ่นกระจายหาย และ คงให้ใบชาสดใหม่อยู่เสมอ
- บรรจุภาชนะอื่น
ภาชนะนั้นต้องทึบแสง เช่น กระป๋องไม้ หรือกระป๋อง อะลูมิเนียม หลีกเลี่ยงการเก็บใบชาไว้ในภาชนะที่แสงสามารถลอดผ่านได้
เนื่องจากมีผลเสียต่อใบชา
- ภาชนะนั้นๆต้องปราศจากกลิ่นแปลกปลอมใดๆ
เนื่องจากใบชามีคุณ สมบัติดูดกลิ่นอย่างดี
ดังนั้นควรทำความสะอาดภาชนะนั้นด้วยน้ำสะอาด หลายๆครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาดที่สุดแล้ว
- ไม่ควรวางไว้ใกล้สถานที่ที่มีกลิ่นความรุนแรง
หรือกลิ่นแปลกปลอม ต่างๆ
การชงชา
การชงชาไม่ควรใช้เวลานานเกินไป
เพราะวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป
ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก
และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง
การชงชาให้ได้รสชาติดี มีข้อสำคัญ 4 ประการ คือ
1.) ปริมาณใบชา จะใช้ใบชาเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของใบชา เช่น ชาที่มีรูปกลมแน่น
กลมกลวม หรือเป็นเส้น ถ้าใช้ใบชาที่มีลักษณะกลมแน่น จะใช้ชาประมาณ 25 % ของกาชา ใบชาเมื่อแช่อยู่ในน้ำร้อน จะเริ่มคลี่ตัวออกทีละน้อย
จนเป็นใบชัดเจน ถ้าใส่มากเกินไป จะทำให้การคลาย ตัวไม่สะดวก
ซึ่งรสชาติที่ชงออกมาจะไม่ได้ตามมาตรฐานของชานั้นๆ และ การเสียของใบชา
เมื่อคลายตัวออกมาเต็มที่ ควรจะมีปริมาณประมาณ 90% ของกาชา
2.) อุณหภูมิน้ำ น้ำที่ชงชาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส แต่ต้องดูว่าจะชงชาประเภทใด เช่น อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะสำหรับชงชาที่ทรงแน่นกลม อุณหภูมิ 80
- 90 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับชาที่มีรูปร่างบอบบาง แตกหักง่าย
หรือชาที่มีใบอ่อนมาก อุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส
ใช้ชงกับชาเขียวทั่วๆไป
3.) เวลา การใช้เวลานานหรือไม่นานนั้น จะบอกได้ว่า น้ำชาจะอ่อนหรือ แก่
โดยปกติใบชาประเภทกลมแน่น จะใช้เวลาในครั้งแรกประมาณ 40 - 60 วินาที ครั้งต่อๆไป เพิ่มอีกครั้งละ 10 - 15 วินาที/ครั้ง
4.) กาชา กาที่ใช้ควรเป็นกาที่ทำจากดินเผา กาดินเผาจะเก็บความร้อน ได้ดีกว่า และให้การตอบสนองที่ดีกว่ากาที่ทำจากวัสดุอื่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น